โดย : | : | บริษัท ธรรมนิติเพรส จำกัด |
รหัสสินค้า | : | 36504 |
ISBN | : | 9786163022356 |
ผู้แต่ง | : | กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ |
จำนวนหน้า | : | 504 หน้า |
ราคา | : | ฿400.00 |
สมาชิกเว็บไซต์ | : | ฿400.00 |
สมาชิกวารสาร | : | ฿360.00 |
บทสรุป PDPA กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
PDPA LAW COMPENDIUM PRINCIPLES AND CONCEPTS OF LAW AND PRACTICE
ผู้แต่ง : กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
สำหรับครั้งนี้เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ที่ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ครบถ้วน สมบูรณ์
อัปเดต 4 กฎหมายลูก ตามที่ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565
โดยจัดให้มีรูปภาพประกอบแบบ Infographic (อินโฟกราฟิกส์) เพิ่มขึ้นและชัดเจน ทั้งการขยายความเข้าใจ
และเชื่อมโยงข้อความในแต่ละบท แต่ละตอนให้อ้างอิงกลับไปกลับมาได้ง่ายขึ้นสะดวกต่อการค้นหาค้นคว้า
ในส่วนของการประยุกต์ใช้ ตัวอย่าง และกรณีศึกษา (Examples and Cases Study Application หรือ ECA)
ได้แยกเป็นส่วนๆ แต่ละ ECA ให้ทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆ อีกทั้งเพิ่มเติมเนื้อหาให้ทันสมัยกับเหตุการณ์
ซึ่งมีภาคผนวกโดยนำตัวบทกฎหมายของ พคข.2562/PDPA2019 ให้สามารถเทียบมาตราทั้ง 96 มาตรา
เนื้อหาในเล่ม
1. สาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
2. ข้อมูลส่วนบุคคล การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไร?
☍ เจ้าของข้อมูล
☍ ข้อมูลส่วนบุคคล
☍ ผู้ควบคุมข้อมูล
☍ ผู้ประมวลผล
3. ความยินยอมเป็นฐานหลักในการประมวลผลข้อมูลและแนวปฏิบัติในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
4. ข้อมูลนิรนามและการแฝงข้อมูลความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ปฏิบัติในองค์กรและงานบุคคล
5. ขอบเขตของข้อมูลส่วนบุคคลตัวอย่างกรณีใดเป็นกรณีใดไม่เป็น
6. ข้อมูลอ่อนไหวดูยังไง ประเด็น “ข้อห้าม” ที่มิให้นายจ้างเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลประเภทใดบ้าง
ซึ่งถูกตีความได้ว่ากระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่ได้รับความยินยอมที่ชัดแจ้งเป็นอย่างไร
7. ฐานเบื้องต้นของกฎหมาย พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล กับการจ้างงาน ในงาน ??
8. การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล/การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล(ความเป็นส่วนตัว) หัวหน้างานทุกระดับ นายจ้าง
และฝ่ายบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร?
9. การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานลูกจ้าง ทําอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
10. หลักการและแนวทาง ว่าด้วยการจัดเก็บประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามขั้นตอนกฎหมาย และเอกสารต้องให้เป็นปัจจุบัน
11. แนวทางเทคนิควิธีการในการขอความยินยอมจากลูกจ้าง ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการปฏิบัติตาม
สัญญาจ้างแรงงาน ข้อมูลที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
12. แนวทางในการดําเนินการเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการบริหาร จัดการลูกจ้างในองค์กร ตั้งแต่จุดเริ่มต้น
จนกระทั่งสิ้นสุดการจ้างงาน
13. สรุปข้อกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และสรุปบทลงโทษทั้งโทษทางอาญา
โทษปรับทางปกครอง และโทษปรับทางแพ่งกับการพักโทษ
14. กรณีศึกษา (Examples and Cases Study Application หรือ ECA)