พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 2) มาตรา 3 ได้ระบุความหมายของ “ใบหุ้น” ดังนี้
ใบหุ้น คือ หนังสือสำคัญซึ่งบริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้นในบริษัท ทำนองเดียวกันเอกสารซึ่งแสดงการเป็นเจ้าของทรัพย์บางอย่าง เช่น โฉนด ที่ดิน ทะเบียนรถยนต์ ในทะเบียนปืน เป็นต้น จึงมีการเอาใบหุ้นใช้เป็นประกันในการกู้ยืมเงินกันได้เหมือนกัน
ประเภทของ “ใบหุ้น”
สำหรับใบหุ้นนั้นจะสามารถแบ่งประเภทได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
- ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ คือ ใบหุ้นชนิดที่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น
- ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ คือ ใบหุ้นชนิดที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น แต่จะมีการระบุในใบหุ้นนั้นว่าเป็นหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ซึ่งหุ้นชนิดนี้จะออกได้ตามกรณี ดังต่อไปนี้
- 2.1 ได้มีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้
- 2.2 หุ้นได้ใช้ราคา/มูลค่าเต็มเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ซึ่งจะต้องมีพยานอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อรับรองลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน กล่าวคือการโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือจะสมบูรณ์เพียงส่งมอบใบหุ้นให้แก่กันเท่านั้น แต่จะใช้ในการยืนยันบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนการโอนลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทไว้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
ค่าปรับกรณีไม่ทำ “ใบหุ้น”
ทั้งนี้การไม่ทำใบหุ้นถือที่ไม่เสร็จสมบูรณ์ถือได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ต้องเสียค่าปรับ ใบหุ้นจะต้องไม่เสียค่าธรรมเนียมเกิดที่กฎหมายกำหนด และจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน โดยแบ่งกรณีค่าปรับได้ ดังต่อไปนี้
- 1.บริษัท ไม่เกิน 10,000 บาท
- 2.กรรมการที่กระทำหรือละเว้น ไม่เกิน 50,000 บาท